วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

วัยรุ่นติดโทรศัพท์

วัยรุ่นติดโทรศัพท์

สาเหตุหลักว่าทำไมวัยรุ่นมีโทรศัพท์มือถือ
                วัยรุ่นใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อที่จะติดต่อพ่อและคุณแม่ในกรณีที่พวกเขาคิดถึงคุณพ่อ คุณแม่หรือต้องการที่ติดต่อกิจธุระต่างๆและเพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลใดๆ
 สถิติการใช้มือถือของคนไทยในปัจจุบัน
            เปิดเผยการสำรวจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครัวเรือนไทยว่า
ในช่วงปี 2546-2549 ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2546-2549 โดยในปี 2549 จำนวนคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจากปี 2546  เกือบเท่าตัว คือ จากประชากร 100 คน มีโทรศัพท์มือถือ  ใช้ 23 คนในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 42 คนในปี 2549
โดยกลุ่มวัยรุ่น มีสัดส่วนผู้ใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว ซึ่งมากกว่าทุกกลุ่มอายุ วัยรุ่นไทยมีและใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับ 1ของเอเชีย และทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือนานถึง 1.7 ชั่วโมงต่อวั
วัยรุ่นใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อ ???
            ในการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่น นอกจากใช้ติดต่อสื่อสารแล้วยังใช้บริการอื่นอีก คือ เพื่อส่งข้อความและรูปภาพ มากที่สุด ร้อยละ 50.0   รองลงมาเป็นโหลดเพลง คิดเป็นร้อยละ 46.4 และเล่นเกมอีกร้อยละ 14.8ร้อยละ 4.8 เล่นอินเทอร์เน็ต / แชท วัยรุ่นไทยมีและใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับ 1ของเอเชีย และทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือนานถึง 1.7 ชั่วโมงต่อวัน
 ค่าใช้จ่ายในการใช้มือถือของวัยรุ่น
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ คือ
น้อยกว่า 500 บาทร้อยละ 54.6
501 -1,000 บาทร้อยละ 35.1 1
1, 001 -1,500 บาทร้อยละ 7.5
มากกว่า 1,500 บาทร้อยละ 2.8
ขณะที่ความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นของโทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน
คือเห็นว่าจำเป็นร้อยละ 87.4  เห็นว่าไม่จำเป็นร้อยละ 12.6
ผลเสียของการติดโทรศัพท์มือถือ
                1. มีผลให้เรียนตกต่ำ ใจร้อน ขี้เหงา
                2.มือถือทำให้เกิด “โรคด่วนได้” รอคอยไม่เป็น รออะไรไม่ได้ เพราะมือถือสามารถส่งข้อความสั้นได้ภายในไม่กี่นาที และได้รับคำตอบกลับมารวดเร็ว
3.ทำให้เกิดโรคเสพติดมือถือ เนื่องจากขาดมือถือไม่ได้ จนไม่เป็นอันเรียนหนังสือ
4.โทรศัพท์มือถือทำให้เกิดอันตราย จากการวิจัยจากมหาวิทยาลัยลุนด์ของสวีเดนกล่าวว่า “การที่สมองได้รับคลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือนั้น” เป็น “การทดลองทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีของมนุษย์” และเขากำลังวิตกว่าเมื่อเทคโนโลยีไร้สายขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ ผู้คนอาจ “จมอยู่ในทะเลคลื่นไมโครเวฟ”
พฤติกรรมแย่ๆจากการใช้มือถือนานๆ
 – เห่อตามแฟชั่น
นิยมเปลี่ยนมือถือไปตามแฟชั่นเพื่อให้อินเทรนด์  ดูทันสมัย และบ้างก็เปลี่ยนเพื่อให้ดูเป็นคนมีระดับ มีฐานะ  ทั้งที่ บางคนแทบจะไม่ได้ใช้เพิ่มเติม จากเดิมเลยก็ตาม
– ทรัพย์จาง จากการเห่อตามแฟชั่น
                หลายคนต้องหาเงินเพิ่ม เพื่อหาซื้อมือถือรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลา  จึงเกิดสภาวะทรัพย์จาง 
 – ขาดกาลเทศะ และมารยาท
                จากการที่เราไม่ค่อยอดทนรอ ที่ว่านี่เอง  ทำให้หลายๆ ครั้ง เมื่อนึกอะไรขึ้นมาได้ ก็จะกดโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูด อยากถามในทันที ซึ่งบางครั้ง อาจจะทำให้เขาไม่พอใจ หรือโกรธที่เราไปขัดจังหวะการกิน การนอน การพักผ่อน ฯลฯ  ของเขาอยู่ก็ได้ 
 – ขาดมนุษย์สัมพันธ์
                วัยรุ่นอยู่บ้าน แทนที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือทำร่วมกับญาติพี่น้อง  ก็มักรีบหนีขึ้นห้องโทรไปหาเพื่อน และใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ  พอนานๆ ไปความสัมพันธ์ในบ้านก็ห่างเหิน  โดยไม่สนใจผู้อื่นอีกต่อไป  

ปัญหาเด็กติดเกมส์

ปัญหาเด็กติดเกมส์

“ติดเกมส์” คือพฤติกรรมที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นและเด็กที่มีพฤติกรรมติดเกมส์จนเกิดเป็นปัญหาต่างๆตามมา ดังข่าวต่างๆที่หลายคนเคยเห็น ซึ่งในปัจจุบันก็มีเกมส์ต่างๆมากมายที่พร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งเกมส์ออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งคงยากหากเราจะห้ามเด็กไม่ให้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้   แล้วผู้ปกครองจะมีวิธีสังเกตพฤติกรรม และแก้ปัญหาการติดเกมส์นี้ได้อย่างไร?

นพ. จิตริน ใจดี จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้บอกถึงพฤติกรรมการติดเกมว่า  โดยธรรมชาติของเกมนั้นมักจะออกแบบมาเพื่อสนองความต้องการของผู้เล่นอยู่แล้ว คือ มักจะให้มีการผ่านด่านเป็นขั้นๆขึ้นไปเรื่อยๆและจะได้รับรางวัลทันทีเมื่อทำภารกิจของเกมสำเร็จ จนทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าสิ่งที่ตนกำลังเล่นอยู่นั้นมีความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อความต้องการของตนเองได้รับการตอบสนองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้เล่นก็เลยอยากที่จะเล่นเกมต่อไปโดยไม่อยากหยุด จนอาจเกิด “ ภาวะติดเกม ” ขึ้นได้ ซึ่งทำให้ส่งผลเสียตามมาได้หลายประการ เช่น
ข้อเสียของการติดเกม
ต่อตนเอง
  • ร่างกาย : ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดหัว อ่อนเพลีย
  • พัฒนาการ(ในเด็ก) : พัฒนาการที่ดีนั้นต้องอาศัยปัจจัยกระตุ้นหรือปัจจัยส่งเสริมในหลายๆ ด้าน เช่น โภชนาการ การเล่น การมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย โดยที่การเล่นเกมแต่เพียงอย่างเดียวจะทำให้ได้สิ่งเหล่านี้ไม่ครบและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของเด็กได้
  • จิตใจ: ในเด็กอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้นได้ และอาจมีอารมณ์หงุดหงิด มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หรือไม่พอใจหากไม่ได้เล่นเกมตามที่ตนต้องการ
ต่อครอบครัว : อาจก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลงทำให้เกิดความเหินห่าง
ต่อสังคม  : ส่งผลกระทบต่อการเรียนและการทำงาน
ส่วนสำคัญที่สุดในการป้องกันปัญหาเด็กติดเกม คือ การตั้งกติกาก่อนเล่นเกมครั้งแรก คือ ก่อนที่จะซื้อเกมหรืออนุญาตให้เด็กเล่นเกมครั้งแรก ควรตั้งกติกากันก่อนว่าจะให้เล่นได้กี่ชั่วโมง หรือ จะให้เล่นได้เฉพาะในวันไหนบ้าง เพราะการมาตั้งกติกากันทีหลังเมื่อเด็กติดเกมไปแล้วเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
อย่างไรก็ตามหากเด็กหรือผู้ปกครองรู้จักเลือกประเภทและแบ่งเวลาในการเล่นเกมให้เหมาะสม ก็อาจจะได้รับประโยชน์อยู่บ้าง เช่น ได้รับความสนุกเพลิดเพลิน ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ได้ช่วยในเรื่องการวางแผน หรือส่งเสริมทักษะด้านภาษา แต่ผู้ปกครองหรือผู้เล่นเกมก็ควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทักษะต่างๆเหล่านี้ก็สามารถที่จะได้รับการพัฒนาโดยวิธีอื่นๆ อีก เช่น กิจกรรมสันทนาการ กีฬา ดนตรี เป็นต้น
นอกจากนี้ผู้ปกครองก็ต้องคอยดูแลและสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมของเด็กว่าเริ่มเล่นเกมมากเกินไปจนเกิดการติดแล้วหรือยัง เพื่อที่จะช่วยเหลือและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเกิดปัญหาหรือผลเสียที่กล่าวไป
วิธีการสังเกตพฤติกรรมการติดเกม
  1. หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมมากเกินไป ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด
  2. ใช้เวลาในการเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ
  3. เมื่อถูกบังคับให้หยุดเล่น จะมีพฤติกรรมต่อต้าน
  4. ส่งผลต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบ การเรียน / ทำงาน
  5. แยกตัวออกจากสังคม ไม่ค่อยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
วิธีช่วยเหลือเด็กติดเกม
  1. ผู้ช่วยเหลือควรจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กก่อนเริ่มการปรับพฤติกรรม
  2. วิธีที่ดีที่สุด คือ การตกลงกติกากันให้ชัดเจนก่อนอนุญาตให้เด็กเล่นเกม
  3. ควรเอาจริงเอาจังกับข้อตกลงหรือกติกาที่ได้ตั้งไว้
  4. สร้างแรงจูงใจในการเลิกให้กับเด็ก เช่น หากกำลังปรับลดชั่วโมงการเล่นเกม ก็ควรหากิจกรรมที่น่าสนใจมาทดแทนการเล่นเกมทันที  และถ้าเด็กทำได้ก็ควรชม /ให้กำลังใจ หรือให้รางวัล
  5. ค่อยๆปรับพฤติกรรมทีละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่สม่ำเสมอ
  6. หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือศึกษาเพิ่มเติมจาก Website เช่น http://www.healthygamer.net/
  7. ปัญหาเด็กติดเกมนั้นสามารถป้องกันและแก้ไขได้ซึ่งผู้ปกครองต้องใช้ความเข้าใจและความอดทน โดยไม่ว่าเด็กจะใช้เทคโนโลยีอะไรก็ควรให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากเทคโนโลยีจะมีประโยชน์แล้ว หากใช้ไม่เหมาะสม ก็ให้โทษได้เช่นกัน